การทำงานแบบลำดับ และมีการตัดสินใจ
โครงสร้างผังงานการทำงานแบบลำดับ
ขั้นตอน
การทำงานแบบลำดับ เป็นขั้นตอนวิธีการทำงานพื้นฐาน ขั้นตอนวิธีการทำงานแบบลำดับได้รับการพัฒนามาจากโครงสร้างผังงานการทำงานแบบลำดับ การเขียนอธิบายการทำงานของวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้ผังงาน ทำให้สามารถเห็นลำดับขั้นตอนวิธีการทำงานของการแก้ปัญหาได้ชัดเจนกว่าการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความโดยตรง แต่การนำผังงานมาพัฒนาให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์โดยตรง สำหรับผู้ที่เริ่มต้นฝึกหัดการเขียนโปรแกรม อาจจะไม่สะดวก จึงต้องมีการเปลี่ยนจากผังงานให้เป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความก่อน จากนั้นจึงทำการเปลี่ยนจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความให้เป็นรหัสเทียม และโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ตามลำดับการเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความจากผังงาน สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับแรกคือ การแยกจำนวนของกระบวนการทำงานทั้งหมดของผังงาน การพิจารณาว่า ผังงานนั้น มีกระบวนการทำงานทั้งหมดจำนวนกี่กระบวนการ สามารถทำการพิจารณาได้จากการทำงานของกระบวนการหนึ่งกระบวนการนั้น จะมีทิศทางเข้าและทิศทางออกจากกระบวนการ มีเพียงอย่างละหนึ่งทิศทางเท่านั้น โดยทำการเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความจำนวนหนึ่งข้อความ ต่อกระบวนการหนึ่งกระบวนการ
1.ผังงานกับการทำงานแบบลำดับ
หลังจากที่ทำการหากระบวนการทำงานทั้งหมดของผังงาน ขั้นตอนต่อไปคือ การเขียนข้อความที่ใช้สำหรับอธิบายการทำงานที่เหมาะสมกับกระบวนการทำงาน ข้อความที่ใช้สำหรับอธิบายการทำงานของแต่ละสัญลักษณ์ของผังงาน สามารถเขียนได้ดังนี้
1.โครงสร้างการทำงานแบบมีลำดับ
ตัวอย่างการเปลี่ยนจากผังงานเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ
จากรูป มีกระบวนการทำงานทั้งหมด 5 กระบวนการ สามารถเขียนการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะข้อความ ได้ดังนี้
1. เริ่มต้นการทำงาน
2. รับค่า Base และ High
3. คำนวณค่าของ Answer เท่ากับ 0.5*Base*High
4. แสดงค่าของ Answer
5. จบการทำงาน
2. รับค่า Base และ High
3. คำนวณค่าของ Answer เท่ากับ 0.5*Base*High
4. แสดงค่าของ Answer
5. จบการทำงาน
2.โครงสร้างแบบมีทางเลือก (Selection structure)คือ โครงสร้างที่มีเงื่อนไขขั้นตอนการทำงานบางขั้นตอนต้องมีการตัดสินใจเพื่อเลือกวิธี การประมวลผลขั้นต่อไป และจะมีบางขั้นตอนที่ไม่ได้รับการประมวลผล การตัดสินใจอาจมีทางเลือกทางเดียวหรือโครงสร้างที่มีทางเลือก 2 ทาง เราเรียกชื่อว่าโครงสร้างแบบ if…then…else และโครงสร้างที่มีทางเลือกมากกว่า 2 ทาง เราเรียกชื่อว่า โครงสร้างแบบ case ซึ่งสามารถแสดงการทำงานของโครงสร้างนี้โดยใช้ผังงานได้ดังรูป |
3.โปรแกรมโครงสร้างรูปแบบทำซ้ำ
จากการศึกษาชุดการทำงานในลักษณะแบบเรียงลำดับและแบบเลือก แต่การทำงานของโปรแกรมในลักษณะนี้ บางครั้งทำให้ขาดความสะดวก และบางกรณีโปรแกรมทำงานได้ในขอบเขตจำกัด เพื่อให้สามารถใช้โปรแกรมได้สะดวกและมีความสามารถในการทำงานได้ดีขึ้น จึงได้มีคำสั่งสำหรับการทำงาน
แบบทำซ้ำรวม 3 รูปแบบ ได้แก่
แบบทำซ้ำรวม 3 รูปแบบ ได้แก่
1. รูปแบบทำซ้ำในขณะเงื่อนไขเป็นจริง (Do While)
2. รูปแบบทำซ้ำจนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง (Do Until)
3. รูปแบบทำซ้ำจากค่าเริ่มต้นไปจนถึงค่าสุดท้าย (For)
2. รูปแบบทำซ้ำจนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง (Do Until)
3. รูปแบบทำซ้ำจากค่าเริ่มต้นไปจนถึงค่าสุดท้าย (For)
การทำงานของโปรแกรมรูปแบบทำซ้ำ ทั้ง 3 รูปแบบ มีรายละเอียดดังนี้
1. รูปแบบทำซ้ำในขณะเงื่อนไขเป็นจริง (Do While) การทำงานเขียนเป็นผังงานได้ดังนี้
ตามรูปแบบแสดงว่าให้ตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขก็ให้ทำกิจกรรม แล้วจึงกลับมาตรวจสอบเงื่อนไขอีกครั้งหนึ่ง ถ้ายังเป็นไปตามเงื่อนไขก็จะต้องทำกิจกรรมซ้ำอีก จนกว่าจะตรวจสอบได้ว่าไม่ตรงตามเงื่อนไข จึงจะไปทำงานในลำดับต่อไป
3. รูปแบบทำซ้ำในขณะที่นิพจน์ควบคุมมีค่าตั้งแต่ ค่าเริ่มต้นไปจนถึงค่าสุดท้าย (For) การทำงานเขียนเป็นผังงานได้ดังนี้
อ้างอิง
http://www.ns.ac.th/course/webit/lesson7/pg7_21.htm
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น